"การบ่มไวน์ใต้น้ำ" เทรนด์ใหม่เล็ก ๆ ของผู้ผลิตไวน์
9 พฤศจิกายน 2021
Posted in: Wine Basic
No comments
สำหรับใครที่ตามข่าวในวงการไวน์ อาจเคยได้ยินเรื่องการการนำไวน์ลงไปบ่มที่ใต้ทะเล หรือการนำไวน์ที่บ่มใต้ทะเลขึ้นมาลองชิม อาจมีข้อสงสัยว่าทำไมต้องเอาไวน์ลงไปบ่มใต้ทะเล? และไวน์ที่บ่มใต้ทะเลมันมีความแตกต่างหรือน่าสนใจอย่างไร?
| UNDERWATER WINE AGING
การบ่มไวน์ใต้น้ำนี้ มีแรงบันดาลใจมาจากไวน์ที่ถูกพบในซากเรือล่ม ซึ่งได้จมลงไปพร้อมกับเรือมานานร่วมศตวรรษ เริ่มเป็นเทรนด์เฉพาะทางที่เริ่มแพร่หลายไปทั่วโลก และถูกตั้งคำถามโดยหน่วยงานที่กำกับดูแลของสหรัฐฯ มาตั้งแต่ปี 2015 แม้ว่ามันดูเหมือนเป็นเรื่องของการตลาด แต่ไวน์ที่ผ่านากรบ่มใต้น้ำนั้นมีหลักฐานยืนยันว่าส่งผลต่อรสชาติไวน์จริง และมีผู้ให้ความสนใจกับการบ่มไวน์รูปแบบนี้ด้วย
ผู้ผลิตไวน์แบรนด์ดังอย่าง Veuve Clicquot เองก็ยังลงมาร่วมเทรนด์นี้ด้วยโครงการส่ง Champagne ลงไปบ่มในทะเล Baltic ในขณะที่ Larrivet Haut-Brion จาก Bordeaux ก็ลงทุนส่งไวน์แดงปี 2009 ทั้งถังลงไปบ่มที่ใต้ทะเลด้วยเช่นกัน
ผู้ผลิตไวน์แบรนด์ดังอย่าง Veuve Clicquot เองก็ยังลงมาร่วมเทรนด์นี้ด้วยโครงการส่ง Champagne ลงไปบ่มในทะเล Baltic ในขณะที่ Larrivet Haut-Brion จาก Bordeaux ก็ลงทุนส่งไวน์แดงปี 2009 ทั้งถังลงไปบ่มที่ใต้ทะเลด้วยเช่นกัน
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบมใต้ทะเลนั้นมีความน่าสนใจ คือสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างแบบพลิกขั้ว ทั้งในเรื่องของแรงดัน, อุณหภูมิ, ออกซิเจน และแสงสว่าง มีการทดลองเปรียบเทียบรสชาติของไวน์ที่บ่มบนบก และบ่มใต้ทะเลอยู่หลายครั้ง แต่ก็ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันไป และยังคงมีพื้นที่การทดลองใหม่ ๆ อยู่เสมอ มีผู้ที่ทดลองชิมไวน์บางคนบอกว่าสามารถรับรสของน้ำทะเลได้ ในขณะที่ขวดไวน์ตามปกติแล้วจะถูกผนึกอย่างแน่นหนาด้วยจุกคอร์กอยู่แล้ว
Crusoe Treasure - Winery ใต้น้ำจาก Spain ได้ทำการทดลองเรื่องนี้มานานถึง 12 ปี ในน่าน้ำอ่าว Plentzia ได้พิสูจน์ว่าไวน์ที่บ่มใต้น้ำนั้นมีรูปแบบการพัฒนาตัวเองที่แตกต่าง โดยอิงจากผลการทดสอบจากห้องทดลองของ Excell Iberica ในปี 2008
ผลที่ได้คือ ไวน์ที่ผ่านการบ่มใต้น้ำสีจะเข้มกว่า และมีการพัฒนาของสีที่ช้ากว่า ในขณะที่กลิ่นนั้นจะให้ความเข้มข้นที่สูงกว่า คาแรคเตอร์ของสมุนไพรและพืชผักจะน้อยลง กลิ่น Fruity และ Floral จะเพิ่มขึ้น และรสสัมผัสของไวน์จะนุ่มนวลและสดชื่นมากกว่า อาจเป็นเพราะการควบคุณอุณหภูมิที่คงที่ในสภาวะใต้น้ำ และการป้องกันรังสีจากแสง ไปจนถึงแรงดันและการสั่นสะเทือน ที่ก่อให้เกิด “การสั่นสะเทือนอย่างต่อเนื่อง”
Crusoe Treasure - Winery ใต้น้ำจาก Spain ได้ทำการทดลองเรื่องนี้มานานถึง 12 ปี ในน่าน้ำอ่าว Plentzia ได้พิสูจน์ว่าไวน์ที่บ่มใต้น้ำนั้นมีรูปแบบการพัฒนาตัวเองที่แตกต่าง โดยอิงจากผลการทดสอบจากห้องทดลองของ Excell Iberica ในปี 2008
ผลที่ได้คือ ไวน์ที่ผ่านการบ่มใต้น้ำสีจะเข้มกว่า และมีการพัฒนาของสีที่ช้ากว่า ในขณะที่กลิ่นนั้นจะให้ความเข้มข้นที่สูงกว่า คาแรคเตอร์ของสมุนไพรและพืชผักจะน้อยลง กลิ่น Fruity และ Floral จะเพิ่มขึ้น และรสสัมผัสของไวน์จะนุ่มนวลและสดชื่นมากกว่า อาจเป็นเพราะการควบคุณอุณหภูมิที่คงที่ในสภาวะใต้น้ำ และการป้องกันรังสีจากแสง ไปจนถึงแรงดันและการสั่นสะเทือน ที่ก่อให้เกิด “การสั่นสะเทือนอย่างต่อเนื่อง”
| คำถามที่เกิดขึ้น
ถึงจะแพร่หลายไปในกลุ่มผู้ผลิตไวน์ แต่สิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับไวน์บ่มใต้ทะเลยังคงเป็นคำถามอยู่ โดยเฉพาะกับหน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐฯ อย่าง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ในปี 2015 ถึงการปนเปื้อนที่จะเกิดขึ้น ในกรณีที่ผนึกของขวดเกิดข้อผิดพลาดขณะบ่มจากการเปลี่ยนแปลงของแรงดัน ที่ส่งผลให้สารเคมีจากน้ำมันเบนซินและสิ่งสกปรกอื่น ๆ ในน้ำทะเลที่จะเข้าไปในขวดได้
แต่ Leclerc Briant - Winery เจ้าของไวน์ Abyss หนึ่งในฉลากที่บ่มด้วยวิธีนี้ ซึ่งประสบปัญหาในการส่งออกไวน์ไปยังสหรัฐ ได้ยืนยันว่าตราบใดที่ปฏิบัติกระบวนการนี้อย่างถูกต้อง สิ่งเหล่านี้ยังไม่เป็นปัญหา และหวังว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายในอนาคต
ในขณะที่ Mira Winery จาก California ได้รับคำสั่งจากรัฐบาลกลาง ให้หยุดโครงการ Aquaoir ที่ทดลองการบ่มไวน์แดงจาก Napa Valley ในอ่าว Charleston แต่จากการวิเคราห์องค์ประกอบทางเคมีจากไวน์ที่ได้ ไม่พบกสนปนเปื้อนหรือการเสื่อมสภาพของขี้ผุ้งที่เคลือบผนึกขวดไว้แต่อย่างใด
แต่ Leclerc Briant - Winery เจ้าของไวน์ Abyss หนึ่งในฉลากที่บ่มด้วยวิธีนี้ ซึ่งประสบปัญหาในการส่งออกไวน์ไปยังสหรัฐ ได้ยืนยันว่าตราบใดที่ปฏิบัติกระบวนการนี้อย่างถูกต้อง สิ่งเหล่านี้ยังไม่เป็นปัญหา และหวังว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายในอนาคต
ในขณะที่ Mira Winery จาก California ได้รับคำสั่งจากรัฐบาลกลาง ให้หยุดโครงการ Aquaoir ที่ทดลองการบ่มไวน์แดงจาก Napa Valley ในอ่าว Charleston แต่จากการวิเคราห์องค์ประกอบทางเคมีจากไวน์ที่ได้ ไม่พบกสนปนเปื้อนหรือการเสื่อมสภาพของขี้ผุ้งที่เคลือบผนึกขวดไว้แต่อย่างใด