Great French Wine Blight ภัยพิบัติของไร่องุ่นฝรั่งเศส
ย้อนไปเมื่อประมาณ 150 ปีที่แล้ว ได้เกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่ที่เกือบจะล้างบางองุ่นผลิตไวน์ในฝรั่งเศสออกไปจนหมดสิ้น และพลิกผันอุตสาหกรรมไวน์ฝรั่งเศสตั้งแต่อดีตจนมาส่งผลในปัจจุบันเลยทีเดียว ต้นต่อของปัญหาใหญ่หลวงนี้ มีที่มาจากแมลงตัวเล็กจิ๋ว มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นที่ชื่อว่า Phylloxera นี้เอง
| จุดเริ่มต้นของ Great French Wine Blight
ในช่วงปี 1600’s มีความเชื่อที่ว่า องุ่นจากยุโรปจะเติบโตได้ในแผ่นดินยุโรปเท่านั้น โดยมีนักวิทยาศาสตร์ทั้งชาวยุโรปและอเมริกาพยายามที่จะหาคำตอบ โดยตั้งข้อสันนิษฐานมากมาย ตั้งแต่สภาพดิน น้ำ อากาศ และวิธีการปลูกองุ่นต่างๆ
และเมื่อพ่อค้าชาวฝรั่งเศสและชาวอเมริกา เริ่มมีการไปมาหาสู่กันมากขึ้น จนเมื่อเข้าสู่ปี 1800’s ทำให้เริ่มมีการเริ่มทดลองนำต้นองุ่นจากอเมริกา เข้ามาลองปลูกในฝรั่งเศส เพื่อพิสูจน์ที่มาว่าทำไมแผ่นดินอเมริกาจึงปลูกองุ่นจากฝรั่งเศสไม่ขึ้น โดยส่วนหนึ่งคือต้นองุ่นเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ไม่มีการตรวจสอบก่อน
ในช่วง ปี 1860 ได้เริ่มมีรายงานถึงอาการป่วยแปลกประหลาดของต้นองุ่นที่เมือง Languedoc ที่อยู่ทางใต้ของประเทศฝรั่งเศส โดยต้นองุ่นมีอาการแห้งเหี่ยว โดยเฉพาะที่รากซึ่งลีบตีบจนไม่สามารถยึดต้นองุ่นเอาไว้ได้ แต่ก็ยังไม่มีใครทราบสาเหตุที่ชัดเจน จึงไม่ได้มีมาตรการเคร่งครัดเพื่อมาควบคุมสถานการณ์ ทำให้ในไม่ช้าต้นองุ่นไร่ข้างๆ เริ่มมีอาการแบบเดียวกัน และแพร่กระจ่ายไปเป็นในวงกว้าง
ซึ่งเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 15 ปี ที่โรคลึกลับนี้ได้โจมตีไร่องุ่นใรประเทศจนวอดวาย ส่งผลให้ผลผลิตลดลงกว่า 40% ซึ่งรวมถึงพืชอื่นๆ ด้วย เช่น มะเดื่อ อ้อย สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมหาศาล หากตีเป็นมูลค่าเสียหายแบบปัจจุบันก็อาจประมาณ 10,000 ล้านฟรัง (หรือประมาณ บาท) ทั้งยังเกือบทำให้องุ่นบางสายพันธุ์สูญพันธุ์ไปโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะ Carménère ที่เคยปลูกอย่างแพร่หลายในเบอร์โดซ์ แต่ตอนนี้แทบหาไม่ได้แล้วในฝรั่งเศส
| จุดจบของ Great French Wine Blight
แม้เหตุการณ์ครั้งนั้นจะจบสิ้นไปยาวนานเป็น 150 ปี แต่เจ้า Phylloxera ก็ยังเป็นศัตรูอันดับ 1 ของไร่องุ่นทั่วยุโรป เพราะเจ้าแมลงนี้ไม่ได้หายไปแบบ 100% ด้วยขนาดตัวที่เล็กจิ๋ว และความสามารถในการปรับตัว จึงทำให้คนปลูกไวน์ต้องพิถีพิถันทุกขั้นตอนในการปลูกองุ่นนั่นเอง